โดย นพ. ศุภณัฐ บุรินทร์กุล (หมอเอิร์ท)
พญ. ฐานิสา กิจจรัส (หมอแนน)
PCOS (Polycystic ovary syndrome) คือ “กลุ่มอาการที่รังไข่มีหลายถุงน้ำ” ซึ่งปัญหาหลักนั้นเกิดจากการที่มี “ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง” (Chronic anovulation) มีอาการแสดงคือประจำเดือนผิดปกติ, มีฮอร์โมนเพศชายเกินและอัลตราซาวด์รังไข่ผิดปกติ มีรายละเอียดของตัวโรคเพิ่มเติมอยู่ในบทความที่แล้วค่ะ
ปัจจุบันพบว่าโรค PCOS นั้นอุบัติการณ์มากขึ้นค่ะ เนื่องจากการที่สังคมไทยเริ่มมีบุตรกันช้าลง มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินกันมากขึ้น รวมไปถึงการใช้ชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวที่น้อย ทำงานนั่งโต๊ะกันเป็นหลัก เชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะเคยได้รับการวินิจฉัย หรือกำลังรับมือกับโรค PCOS อยู่เป็นแน่ 🙂
ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงภาคต่อในเรื่อง การดูแลตัวเอง และการรักษา PCOS นะคะ
คำถามนี้เป็นคำถามที่ได้รับการถามบ่อยมากๆ ค่ะ อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าความอันตรายsของโรค PCOS นั้นเกิดได้จาก 3 ปัจจัย ได้แก่
โดยปกติแล้วสตรีวัยเจริญพันธุ์จะมีไข่ตกทุกเดือน สังเกตได้จากการมีประจำเดือนมาทุกเดือนนั่นเองค่ะ แต่คนไข้ที่เป็นโรค PCOS จะมีปัญหา “ไข่ไม่ตกเรื้อรัง” หรือ “ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ” ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่มีฟองไข่ตกออกมาในบางเดือนค่ะ ดังนั้นปัญหาหลักที่ตามมาคือ
ในภาวะปกติการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิงจะต้องสมดุลค่ะ คือมีทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ซึ่งอาจสังเกตุได้จากการเป็นประจำเดือนที่ตรงรอบ และปกติดีค่ะ แต่ในผู้ป่วยโรค PCOS จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง แต่ขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนค่ะ ทำให้เกิดปัญหาฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนสูงเพียงอย่างเดียว และเกิดปัญหาที่ร้ายแรงนั่นคือ เยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ และอาจนำไปสู่การเป็น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer) ได้ค่ะ
โรค PCOS จะมีผลทำให้การทำงานของตับผิดปกติค่ะ โดยจะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistant) ทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรค PCOS จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ง่ายกว่ากลุ่มบุคคลทั่วไปค่ะ
จากข้างต้นจะเห็นเลยนะคะ ว่าโรค PCOS ทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกายได้หลายประการ โดยส่งผลต่อร่างกายโดยรวม ไม่ใช่แค่ระบบสืบพันธุ์นะคะ การรักษาโรค PCOS นั้นมีความสำคัญมากค่ะ เพราะถ้าหากรักษาได้เร็ว หายจากโรคเร็ว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงทั้ง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และปัญหามีบุตรยาก ก็จะไม่เกิดขึ้นค่ะ
การรักษาโรค PCOS ให้ได้ผลดีนั้น ต้องอาศัยทั้งการวางแผนการรักษาที่ดีของแพทย์ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยนะคะ (ไม่ได้ขึ้นกับคุณหมอเพียงอย่างเดียวนะคะ 😌 ) แนวทางในการรักษาโรค PCOS นี้อาจจะแบ่งได้ดังนี้ค่ะ
ข้อนี้นับว่าเป็นการจัดการโรค PCOS ตั้งแต่ต้นตอค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะ PCOS ที่เกิดจากปัญหาน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน การลดน้ำหนักจะเป็นการแก้ที่สาเหตุค่ะ โดยโรคมักจะดีขึ้นหากลดน้ำหนักได้ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน เป็นต้น ทั้งนี้สาเหตุของโรคแต่ละท่านอาจแตกต่างกันนะคะ การตรวจประเมินเบื้องต้นกับคุณหมอจึงมีความสำคัญ และช่วยให้รักษาได้ตรงกับสาเหตุนะคะ
การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นการรักษาที่ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะเห็นผลค่ะ การรอให้ยาเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนนั้น จะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลได้โดยเร็ว และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรคได้อย่างทันท่วงทีค่ะ โดยการเลือกชนิดของฮอร์โมน คุณหมอจะเป็นผู้ช่วยเลือกยาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละท่านค่ะ
บางท่านเข้าใจผิดว่า เมื่อเป็น PCOS แล้วไม่สามารถมีบุตรได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ เพราะ PCOS ก็ยังมีบุตรได้ค่ะ แต่ต้องมีตัวช่วยจากแพทย์ค่ะ ซึ่งในกลุ่มนี้ การรักษาจะแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตรนะคะ โดยปกติแล้วการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักใช้ยาในการช่วยกระตุ้นฟองไข่ และฉีดยาให้ไข่สุก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และรักษาโรค PCOS ไปพร้อมๆ กันค่ะ
จะเห็นแล้วนะคะว่าโรค PCOS นี้มีผลกับร่างกายหลายประการ และภาวะแทรกซ้อนของโรคก็น่ากลัว และรุนแรงไม่ใช่เล่นเลยนะคะ หวังว่าหลังจากอ่านบทความนี้จบแล้ว จะทำให้ผู้อ่านหลายๆ ท่าน ที่สงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรค PCOS ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง และเริ่มตรวจ หรือรักษาอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันปัญหารุนแรงที่อาจจะตามมาได้นะคะ 🙂
โดย Woman Care Clinic ของเรา ดูแลโดยคุณหมอเฉพาะทางด้านฮอร์โมนและมีบุตรยากผู้มากประสบการณ์ และให้การรักษาเป็นรายบุคคลอย่างตรงจุดและครอบคลุม ติดต่อสอบถามได้ที่ เบอร์ 096-692-5044 หรือ line : @womancareclinic (มี@) ได้เลยนะคะ